วันที่ 13 มกราคม 2563 ประเทศไทยตรวจพบและยืนยันว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 เป็นรายแรกซึ่งเป็นชายชาวจีน (ไทยพีบีเอสอินไซส์, 2563) แต่ในประเทศจีนผู้ติดเชื้อรายแรกอาจจะติดเชื้อตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2562 หลายสัปดาห์ก่อนที่รัฐบาลจีนจะออกแถลงการณ์ยืนยัน เว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือ Covid-19 รายแรกของจีนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 (โพสต์ทูเดย์, 2563) จนกระทั่งปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เราได้ทราบกันว่าประเทศจีนมีอัตราการติดเชื้อใหม่ร้อยละ 0 และมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยน้อยลงเรื่อย ๆ จนเข้าใกล้ Zero Death แล้ว ในขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วในประเทศแถบยุโรป โดยมีจุดเริ่มต้นที่ทางเหนือของประเทศอิตาลี แล้วแพร่กระจายเข้าสู่ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร ตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากใครสนใจ Knot ได้เขียนบทความวิเคราะห์ผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยไว้บนเว็ยไซต์ของ A Cuppa Academy ซึ่งเป็นสถาบันที่ Knot และคุณ Juth ตั้งขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการตลาดออนไลน์และการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ รวมถึงทักษะจำเป็นต่าง ๆ สำหรับยุคดิจิทัลนี้ค่ะ

There is always a right direction for us to move forward

จากวันแรกที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ ภาครัฐและบุคลากรด้านสาธารณสุขของเราทำงานกันอย่างหนักมากเพื่อชะลอและควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในสภาวะที่การสาธารณสุขไทยสามารถรองรับได้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย การรักษา Social Distancing การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ไปจนถึงการใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น การออก พรก.ฉุกเฉิน การยกเลิกฟรีวีซ่า หรือ Visa on Arrival สำหรับบุคคลที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2563 ประเทศไทยต้องถึงคราวที่จะปิดประเทศ หรือปิดน่านฟ้า น่านน้ำ และการสัญจรทางบกทั้งหมดเพื่อชะลอการนำเชื้อไวรัส Covid-19 เข้ามาแพร่กระจายมากขึ้นในประเทศไทย

มาตรการกักตัว 14 วัน ซึ่งบังคับใช้สำหรับบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในทุกจังหวัดทั่วประเทศ Knot เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อ Covod-19 ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการรักษา Knot และคุณ Juth จึงต้องกักตัว 14 วัน นับจากวันที่พบผู้ป่วยครั้งล่าสุด ซึ่งก็คือ วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม นับไป 14 วันก็สิ้นสุดในวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 นั่นเอง ตอนที่ Knot ทราบผลตรวจยืนยันนั้น Knot อยู่ที่บ้านต่างจังหวัดซึ่งมีผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มเสี่ยงอยู่ในบ้านหลายคน ซึ่งตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 Knot ก็ไม่ได้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ในบ้านมากนัก เพราะเป็นคนเดียวที่ออกไปพบปะผู้คนนอกบ้านเป็นประจำ ก็สบายใจไปได้บ้าง แต่เพื่อความสบายใจ Knot จึงเลือกมาแยกกักตัวที่กรุงเทพฯ เพื่อลดความเสี่ยงกรณีติดเชื้อ ตลอดระยะเวลา 12 วันของการกักตัวที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้ Knot ได้เรียนรู้สิ่งดีๆ มากมาย ที่อยากแชร์กับทุกคนค่ะ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ว่าในทุก ๆ วิกฤติการณ์จะมีโอกาสหรือสิ่งดี ๆ อยู่เสมอ เราเพียงแค่ต้องมองหามันให้เจอเท่านั้นเองค่ะ

สิ่งดีๆ ที่ Knot มองเห็นและสัมผัสได้ระหว่างกักตัว 14 วันนี้ มี 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่:

ช่วงก่อนที่ Knot จะเริ่มกักตัว การจราจรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เริ่มดีขึ้นแล้ว Knot ใช้เวลาเดินทางจากบ้านที่จังหวัดปราจีนบุรีมากรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชม ซึ่งก่อนหน้านั้น การเดินทางใช้เวลานานถึง 3 – 3.5 ชม กันเลยทีเดียว ระยะทาง 125 กม เท่านั้น ซึ่งทำให้ Knot เริ่มมองเห็นสิ่งดีๆ ที่มาพร้อมกัยวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 14 วันที่ผ่านมา Knot ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ค่ะ

สิ่งดีๆ ที่พบได้ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 ใจกลางกรุงเทพฯ

ข้อที่ 1 มีเวลาว่างมากขึ้น

เวลาว่างมากขึ้นสำหรับ Knot นั้นส่วนใหญ่ได้มาจากการไม่ได้เดินทาง ทำงานผ่านระบบออนไลน์ หรือ Work from Home เวลาที่เพิ่มขึ้นมาในแต่ละวัน เพิ่มในการทำสิ่งต่างๆ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทาง ซึ่ง Knot และคนรอบข้างมีเวลาเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 3-5 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว ส่วนตัว Knot เอาเวลาไปใช้กับการเตรียมการสอน ฝึกใช้เครื่องมือและแอปพลิเคชันต่าง ๆ สำหรับการสอนผ่านออนไลน์สำหรับภาคฤดูร้อนนี้ นอกจากนั้น ยังเอาเวลาไปเรียนเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ในหลักสูตรที่สนใจ ใช้เวลาไปกับการออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย และยังนำไปเขียนบทความ งานวิจัย สร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ สำหรับ Trips in My Memory เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้ความบันเทิงและคลายเหงาให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนค่ะ

ข้อที่ 2 การยอมรับการใช้งาน Digital Product สูงขึ้น ก้าวกระโดดสู่ Digital Transformation และสู่สังคม Digital as Usual เร็วขึ้น

สืบเนื่องมาจากข้อแรกค่ะ เมื่อมีเวลามากขึ้น Knot ก็ได้ทำอะไรมากขึ้น โดยเฉพาะได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้งาน digital product ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนออนไลน์ การทำงาน การประชุม ไม่ว่าจะเป็น Conference tools ต่าง ๆ เช่น Zoom, Google Hangouts, Google Classroom, Microsoft Team เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ที่จะทำสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ เนื่องจากประสบการณ์การเข้าเรียนออนไลน์คอร์สต่าง ๆ หากสื่อการสอนไม่ดีพอ ผู้สอนไม่เชี่ยวชาญมาพอ การสอนผ่านออนไลน์จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนมากถึง 50-70% เลยทีเดียว เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของผู้เรียนได้ หากผู้สอนไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ โดยใช้เสียง หรือสื่อการสอนที่น่าสนใจ ผู้เรียนก็อาจจะไม่ได้ความรู้เท่าที่ควรจะเป็นได้

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ภาครัฐและเอกชนพยายามพลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 แต่ในระบบการศึกษา การทำงานหลายแห่งยังไม่แม้แต่จะเป็น Digitization กล่าวคือ การเรียนการสอนยังอยู่ในรูปแบบออฟไลน์ สื่อการสอนยังเป็นกระดาษกันอยู่ เอกสารต่าง ๆ จัดเก็บในรูปแบบของกระดาษ เอกสารราชการต่าง ๆ ก็เช่นกัน ปัจจุบันเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 มีการประกาศใช้ พรก ฉุกเฉิน บริษัทเอกชนหลายแห่งปิดดำเนินการ หลายแห่งให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทำให้จำเป็นต้องจัดทำ เก็บ รวบรวม และส่งเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ถูกบันทึกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบ Digital ซึ่งเป็นกระบวนการทำ Digitization นั่นเอง

และเมื่อข้อมูลต่าง ๆ ถูกบันทึกในรูปแบบของ Digital แล้วก้าวต่อไปก็คือการนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์และประมวลผลผ่าน Digital Product ต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การทำ Digotalization นั่นเอง ยิ่งวิกฤตการณ์ครั้งนี้ยาวนานเพียงไร ผู้คนก็จะมีความคุ้นเคยและเห็นความสำคัญของ Digital Product ต่าง ๆ มากขึ้น มีความคิดที่จะสร้าง Innovation จากข้อจำกัดที่ตนเองมีมากขึ้น เพื่อให้การทำงานดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั่นเอง ซึ่งเมื่อคนยอมรับการใช้งาน Digital Product มากขึ้น เริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เปลี่ยนกระบวนการทำงานเดิมของตนให้สอดคล้องกับข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่บ้าน จนเกิดเป็น Digital Transformation ครั้งใหญ่

ในท้ายที่สุด เราไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่จะถูกบังคับให้ Transform แต่จะเป็นเราทุกคนบนโลกใบนี้ที่จะก้าวเข้าสู่ Digital Transformation ไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนขั้วของมหาอำนาจของโลกใบนี้ มหาอำนาจเดิมคือฝั่งยุโรปและอเมริกา แต่วิกฤติการณ์ครั้งจะเราได้ได้เห็นถึงการเปลี่ยนขั้วที่จะเริ่มจากจีนก้าวเข้าไปสร้างพันธมิตรกับประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรป ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุข และหลังจากนั้น โลกจะเข้าสู่สังคมที่เรียกว่า Digital as Usual โดยมหาอำนาจจะย้ายฝั่งมาที่ผู้ผลิตอาหารและผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ตนมีเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าต่อไปในอนาคต

ข้อที่ 3 ได้เห็นคุณค่าของคนรอบข้างมากขึ้น

โดยปกติ Knot จะทำงานที่บ้านจันทร์ถึงศุกร์ และเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทำงานอื่น ๆ และไปสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ เรียกว่าทำงานสัปดาห์ละเจ็ดวัน ยุ่งกับการทำงาน การเตรียมการสอน และอื่น ๆ อีกมากมายในแต่ละวัน หากมีไม่สบายก็จะรีบไปหาหมอทันทีเพราะกลัวจะเป็นหนัก จะทำงานไม่ทัน และที่สำคัญจะไปเที่ยวไม่ได้ แต่พอมากักตัวครั้งนี้ ทำให้ได้รับรู้ถึงความเป็นห่วงเป็นใยของครอบครัว เพื่อน ๆ และผู้คนรอบตัวอย่างมากมาย จากที่บางคนนาน ๆ คุยกันที หรือคุยกันเมื่อมีธุระ ก็แถบจะถามอุณหภูมิกันทุกวัน มีการถามไถ่อาการ เป็นห่วงคนในครอบครัวของเรา จากเพื่อนของครอบครัวในต่างประเทศ มีคำแนะนำต่าง ๆ มากมายในการรักษาตัวให้รอดปลอดภัยในวิกฤติการณ์นี้

นอกจากนี้ Knot คิดว่า เราคนไทยทุกคนเห็นคุณค่าของบุคลากรในระบบสาธารณสุขไทยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมากขึ้น หากไม่มีคนกลุ่มนี้ ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อช่วยชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 สถานการณ์สามเดือนแรกของเราคงจะแย่กว่านี้มากมาย เหมือนที่เราเห็นกันในประเทศในแถบยุโรปที่หลายคนอาจมองว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ระบบการสาธารณสุขของประเทศเหล่านั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นและยังเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีทีท่าจะหยุดลง

และสุดท้ายหลายคนคงเล็งเห็นคุณค่าของความเด็ดขาดในการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เราคงเถียงไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดในประเทศไทยที่กระจายตัวมากขึ้น นั้นมีสาเหตุมาจากการไม่กระทำตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ดังนั้น ความเด็ดขาดก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ

ข้อที่ 4 มีเวลาพูดคุยและใกล้ชิดคนในครอบครัวมากขึ้น

เนื่องจากหลายคนได้ทำงานที่บ้าน ก็จะมีความใกล้ชิดกับคนในครอบครัวมากขึ้น แต่อย่าลืมรักษาระยะห่าง หรือ Social Distancing ระหว่างกันไว้นะคะ โดยปกติ Knot จะทำงานที่บ้าน ตอนอยู่บ้าน ก็คุยกับคนในครอบครัวบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องงาน การถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ มีบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะทุกคนต่างก็ยุ่งกับการทำงาน เลิกงานก็ต่างคนต่างพักผ่อน ทำสิ่งที่ชอบกันไป ปกติ Knot ก็จะทำงาน เลิกงานก็เล่นกับมัฟฟินบ้าง อ่านหนังสือบ้าง แต่ช่วงเวลากักตัว 14 วันนี้ จะมีการคุยไลน์และสั่งซื้อออนไลน์ตามคำสั่งของแม่มากขึ้น หลายคนเมื่อทำงานที่บ้านก็ได้อยู่กับคนในครอบครัวมากขึ้น มีเวลานั่งทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันมากขึ้น

ข้อที่ 5 ได้ใช้ชีวิตแบบ slowlife อยู่กับตัวเองมากขึ้น รักตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น

ข้อสุดท้าย ตลอดระยะเวลา 14 วันที่กักตัว Knot ได้ใช้ชีวิตแบบ Slowlife มากขึ้น ตื่นเช้าทานอาหารเช้า เริ่มทำงาน อ่านหนังสือ สั่งอาหารจากระบบ Online แพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ส่วนตัว Knot ชอบดีไซน์และประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ที่ได้จากการใช้งาน Grab foods ค่ะ แต่ก็ได้ลองใช้แพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยเนื่องจากบางครั้งร้านที่อยากทานก็ไม่ได้อยู่บน Grab ค่ะ รูปแบบการทำการตลาด การออกโปรโมชัน และการคิดค่าบริการที่ต่างกันของแต่ละแพลตฟอร์มทำให้ Knot เลือกที่จะลองใช้บริการทุกแพลตฟอร์มตามประสานักการตลาดและอาจารย์ที่ชอบจะศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปเป็น case study ให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้ค่ะ

จากชีวิต Slowlife มาก ๆ ในแต่ละวัน วนเวียนไปที่ ตื่นเช้า ทานข้าว ทำงาน อ่านหนังสือ ทานข้าว ทำงานต่อ ดูหนัง ฟังข่าว ช้อปปิ้งออนไลน์ วนไปในแต่ละวัน เช้าจรดค่ำ ก็จะมีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น มีเวลาคิดมากขึ้น รักตัวเองมากขึ้น เกิดจากความคิดที่สมมติไปว่าถ้าเราติดเชื้อไวรัส Covid-19 เราจะทำอย่างไร ก็หาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต รู้ว่าไวรัสกลัวอะไรบ้าง แน่ชัดที่สุดคือไวรัสทำอะไรเราไม่ได้ถ้าร่างกายเราแข็งแรง การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ประกอบกับว่า Knot ได้ไปหาหมอเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินอาหารและมีแก๊ซในท้องมากเกินไป ทำให้ได้พบว่า มีความผิดปกติของหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นกรดไหลย้อนได้ในอนาคต คุณหมอบอกว่าน้ำหนักน่าจะเกินนะคะ อีกสามเดือนมาเจอกันขอให้ลดน้ำหนักลงสัก 2 กก ค่ะ หลังจากนี้ Knot ก็คงจะต้องออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อลดน้ำหนักตามที่คุณหมอสั่งและเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจจะมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาที่กักตัว Knot ได้อ่านข่าวมากมาย ได้เห็นว่าใครเป็นคนอย่างไร Knot ได้เห็นคนรอบข้างที่มาช่วยกันทำหน้ากาก ช่วยกันหาอุปกรณ์จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์มาบริจาคให้กับโรงพยาบาลในต่างจังหวัดที่ขาดแคลน ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีเงินก็ออกเงิน ใครมีแรงก็ออกแรง หลายคนออกทั้งเงินและแรง แบบไม่ออกหน้า ไม่ได้ต้องโฆษณา แต่ก็ได้เห็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนดำเนินชีวิตแบบไม่รับผิดชอบต่อสังคม นำเชื้อไปแพร่กระจายจนประเทศไทยเข้าสู่สภาวะที่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ หลายคนเดินทางกลับจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศกลุ่มเสี่ยง แต่ไม่มีความรับผิดชอบ อ้างนู่นนี่นั่น ไม่ทำตามกฎระเบียบที่รัฐกำหนด ซึ่งเป็นการกระทำที่ประหนึ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายมากขึ้น การที่คนคนหนึ่งดื้อที่จะกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว แล้วไม่แยกตัวอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็เป็นการทำให้คนในครอบครัวของคนคนนั้นมีความเสี่ยงสูงมากในการได้รับเชื้อ และนำไปสู่การติดเชื้อและอาจเสียชีวิตในท้ายที่สุด หากที่บ้านของคนคนนั้นมีผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เรียกว่ากลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวมากที่สุด เพื่อความสบายของตนเองเพียงคนเดียว แต่ทำให้คนอีกมากมายมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ Covid-19 และหากญาติหรือคนในครอบครัวเสียชีวิตลงจากการแพร่เชื้อโดยประมาทของเรา มันจะเป็นตราบาปติดตัวติดใจเราไปตลอดชีวิตนะคะ

“Every sunset brings the promise of a new dawn” – Ralph Waldo Emerson

สุดท้าย Knot ขอบอกว่า หากเราทุกคนร่วมมือกัน รักษาระยะห่างระหว่างกัน ดำรงชีวิตอย่างมีสติ ดำรงไว้ซึ่งความไม่ประมาท ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็จะชนะโรคภัยไข้เจ็บไปได้ด้วยกันค่ะ ข้อดีอีกประการหนึ่งที่ Knot ไปอ่านเจอคือ สภาพแวดล้อมของโลกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ประเทศจีน ไปจนถึงฝั่งยุโรปและอเมริกา หลายคนอาจมองว่านี่คือ Mother nature calls ก็เป็นได้นะคะ

โพสต์นี้เป็นโพสต์แรกที่ Knot เขียนแชร์ประสบการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการเดินทางโดยตรงของ Knot ให้ทุกคนได้อ่านกัน หากชอบไม่ชอบอย่างไร หรือใครมีสิ่งดี ๆ อื่น ๆ อยากเล่าสู่กันฟัง มาคอมเม้นต์ไว้ได้นะคะ ถ้าชอบอย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กด Subscribe เพจ IG และ ช่อง YouTube ของ Trips in My Memory เพื่อเป็นกำลังใจให้ Knot กันด้วยนะคะ ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ แล้วเจอกันใหม่ในโพสต์ต่อไปนะคะ

References:
[1] ไทยพีบีเอสอินไซส์. (2563, 6 March 2563). เปิดข้อมูลผู้ติดเชื้อCOVID-19 ในไทย เคส 1 – 47. Retrieved from https://news.thaipbs.or.th/content/289592
[2] โพสต์ทูเดย์. (2563, 14 March 2563). ผู้ป่วยโควิดรายแรกในจีนอาจติดเชื้อตั้งแต่ 17 พ.ย.ปีที่แล้ว. Retrieved from https://www.posttoday.com/world/617662
[3] สุธาศิณี สุศิวะ (2563, 29 March 2563). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย. Published on http://acuppaacademy.com/blog/2020/03/29/covid-19-efftects/